วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

สศอ.ทุ่ม 50 ล้าน ผุด 5 โปรเจ็คยักษ์พัฒนาสิ่งทอฯไทยหนีคู่แข่งหั่นราคา


สศอ.ทุ่ม 50 ล้าน ผุด 5 โปรเจ็คยักษ์พัฒนาสิ่งทอฯไทยหนีคู่แข่งหั่นราคา


สศอ.ทุ่ม 50 ล้าน ผุด 5 โปรเจ็คยักษ์พัฒนาสิ่งทอฯไทยหนีคู่แข่งหั่นราคา มุ่งยกระดับอุตฯสิ่งทอหนีคู่แข่งอย่างมีเชิง ยกเครื่องครั้งใหญ่ทั้งกระบวนการ หวังสร้างมิติใหม่ในวงการสิ่งทออาเซียน


นายอภิวัฒน์  อสมาภรณ์ รองผู้อำนวยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เป็นอุตสาหกรรมแรกๆที่มีการพัฒนาให้เกิดความครบวงจรในประเทศไทย มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมายาวนาน โดยเฉพาะเกิดการจ้างงานในระบบกว่า 1 ล้านคน ผลกระทบจากสภาวะการค้าโลกที่มีการแข่งขันเสรีในปัจจุบัน และปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย สศอ.จึงได้ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในการจัดทำโครงการิจัยและพัฒนารวมทั้งสิ้นจำนวน 5 โครงการ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพด้านการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่อง นุ่งห่มไทย ภายใต้งบประมาณปี 2554 จำนวนกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปโครงการต่างๆดังนี้

1. “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเครื่องห่มไทยเพื่อสนองตอบผู้ผลิตใน ASEAN และ BIMSTEC” 
2. “โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ด้วย การบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบทวีผล (Total Productive Maintenance: TPM)”
3. “โครงการเพิ่มผลิตภาพการผลิตโดยการจัดทำและใช้ระบบมาตรฐานฝีมือแรงงาน พร้อมกำหนดอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับมาตรฐานฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม”
4. “โครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอและผ้าผืนด้วยเทคโนโลยีฟอกย้อมตกแต่งสำเร็จ”
5. “โครงการจัดทำแนวทางปฎิบัตที่เป็นเลิศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพด้าน การผลิต สำหรับอุตสากรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Best Practices for Productivity Improvement in Production) ”
“ผลการดำเนินงานทั้ง 5 โครงการ ถือเป็นกลไกรที่ช่วยขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรักษษขีดความสามารถได้เป็นอย่างดี เช่น การดำเนินการจัดทำแนวทางการปฎิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพด้านการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ จำนวน 89 บริษัท โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำ โดยแต่ละบริษัทที่เข้าร่วมโครงการมีระบบและกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันมากใน แต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม โดยแบ่งอุตสาหกรรมดังกล่าวออกเป็นประเภทดังนี้ อุตสาหกรรมเส้นใย เส้นด้าย ถักผ้า ทอผ้า ฟอกย้อมและตกแต่งสำเร็จ เป็นต้น โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 35 บริษัท
2.กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 54 บริษัท  จากการดำเนินการจัดทำแนวทางปฎิบัติที่เป็นเลิศ ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิต หรือ ลดของเสีย หรือ ลดต้นทุนการผลิต โดยส่งผลต่อการประหยัดต้นทุนซึ่งสามารถสรุปภาพรวม โดยมีมูลค่ารวม 168,413,642 (บาท/โครงการ) 460,747,850 (บาท/ปี) ขณะที่ โครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอและผ้าผืนด้วยเทคโนโลยีฟอกย้อมตกแต่ง สำเร็จ เกิดการทำวิจัยพัฒนาและออกแบบผลิต ภัณฑ์เคหะสิ่งทอและผ้าผืน มีมูลค่าเพิมขึ้น 10-30%”
นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า  ซึ่งผลการดำเนินโครงการที่ได้ยกตัวอย่างมาถือว่าเป็นแนวทางการยกระดับให้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย มีการพัฒนาที่ยั่งยืน แม้จะได้รับผลกระทบจากประเทศคู่แข่งที่พยายามเบียดแย่งตลาดด้วยการหั่นราคา ซึ่งประเทศไทยจะไม่แข่งขันด้วยวิธีดังกล่าว แต่เราจะหนีคู่แข่งด้วยการยกระดับขีดความสามารถที่มากกว่า มีนวัตกรรมที่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผลิตสินค้าในจำนวนไม่มากแต่มีมูลค่าที่มากกว่า จึงจะเป็นทางออกที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น