วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคงานกลึง (Grinding Technik)


ทคนิคงานกลึงของเยอรมันเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ด้วย Know-How ทางเทคนิคชั้นสูงและความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้ผลิตจากแถบประเทศเยอรมนีได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าค่าเงินสกุลยูโรจะแข็งมากเพียงใดก็ไม่เป็นอุปสรรคในขณะนี้ โดยในปี 2007 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 16%
            ผู้ประกอบการของเยอรมันสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับเทคนิคงานกลึงในปีที่แล้ว ประมาณ 916 ล้าน ยูโร ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 16% เมื่อเทียบกับปี 2006 โดย อัตราสัด 1 ใน 8ของการผลิต MACHINE TOOL ทั้งหมดเป็นส่วนของเครื่องมือกลึงซึ่งใช้เป็นเครื่องมือพิเศษสำหรับผลิตฟัน เฟือง และเครื่องจักรสำหรับงานพื้นผิวซึ่งไม่ได้ถูกนับรวมอยู่ในสัดส่วนดังกล่าว โดยในส่วนนี้เพียงอย่างเดียวสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมากถึง 562 ล้านยูโร นอกเหนือจากที่กล่าวมา
                 ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีเสียงสะท้อนกับการผลิตเครื่องมือกลึงที่ยังคงต้อง ระดมกำลังการผลิตอย่างเต็มความสามารถ “ด้วยกำลังการผลิตเกือบเต็ม 100% แต่ก็ยังคงมีคำสั่งซื้อสินค้าในช่วงครึ่งปีหลังนั้นสูงอยู่”  นายแกร์ฮาร์ท ไฮม ผู้จัดการฝ่ายการพาณิชย์และสถิติของ สมาคมผู้ผลิตเครื่องมือกลเยอรมัน (GERMAN MACHINE TOOL BUILDERS’ ASSOCIATION, VDM) โดยในครึ่งปีแรกของปี 2008 มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 8% ซึ่งไม่เป็นที่น่าแปลกใจสำหรับ VDM ที่คาดการณ์ตัวเลขการค้าตลอดทั้งปีเพิ่มขึ้นจากเดิมไว้ที่ 10%

            ตัวขับเคลื่อนความต้องการดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจาก เครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยกำลังลม ซึ่งลูกค้ามีความต้องการที่จะติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานทด แทนเพิ่มขึ้นและขณะเดียวกันยังรวมไปถึงงานการผลิตตัวใบพัด (ROTOR) และระบบถ่ายทอดกำลังภายใน ตัวขับเคลื่อนความต้องการตัวต่อไปคงหนีไม่พ้น อุตสาหกรรมในกลุ่มยานยนต์ ซึ่งได้รับแรงกดดันจากตลาดลูกค้าที่คอยรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาก ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งต้องอาศัยความประณีต ความพิถีพิถันสำหรับงานในส่วนของเครื่องยนต์ ตัวขับเคลื่อนความต้องการตัวสุดท้ายได้แก่ อุตสาหกรรมสร้างอากาศยานที่มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะงานกลึงในส่วน ของชุด TURBINE
            ผู้ประกอบการที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมัน คือ กลุ่มบริษัท KOERBER SCHLEIFRING  อันได้แก่  SCHANDT, MAEGERLE, STUDER, BLOHM, MIKROSA, JUNG, และ EWAG โดยบริษัทที่ถือว่าเป็นที่รู้จักมากที่สุดในกลุ่ม SCHLEIFRING คือ  บริษัท STUDER  ซึ่งมีที่ตั้งสำนักงานในเมือง THUNประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีความชำนาญพิเศษด้าน CYLINDRICAL GRINDING  บริษัท STUDER ถือว่าเป็นบริษัทที่ไม่อยู่ในกลุ่มประเทศสมาชิก EU แต่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ประกอบการเยอรมัน รายได้หลักของธุรกิจขึ้นอยู่กับการส่งออก “การส่งออกเป็นส่วนสำคัญหลักของการอยู่รอดขององค์กรเรา คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด” นายสเตฟาน เนลล์ กล่าว, กรรมการผู้จัดการ FRITZ STUDER AG, มากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้ารวม 150 ล้านยูโร เป็นตลาดภายในยุโรป โดยมีประเทศเยอรมนีเป็นตลาดสำคัญ เครื่องมือกลถือว่าเป็นสินค้าหลักของบริษัท โดยบริษัทมักจะเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานอัตโนมัติ เพื่อลดแรงงานพนักงานประจำเครื่อง ทำให้ในช่วง 5 ปีหลังที่ผ่านมามีการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มมากเป็นสองเท่า
            ทั้งนี้ นายเนลล์ ตอบคำถามถึงเหตุที่ว่า ทำไม STUDER จึงประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศ  เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญหลายประการที่ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ คุณภาพ (QUALITY), การทำงานที่แม่นยำ (PRECISION), ความทนทาน, ความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา รวมไปถึง การให้บริการติดตั้งระบบและการฝึกอบรมให้แก่ลูกค้า เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมองความสามารถทางด้านเทคนิคแล้ว เริ่มที่จะมีความแตกต่างลดลง “ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทคู่แข่งมีเพิ่มขึ้น ความแตกต่างระหว่างสินค้าของแต่ละเจ้าจึงลดลง”



alt มร. สเตฟาน เนลล์, กรรมการผู้จัดการ FRITZ STUDER AG, “KNOW – HOW เพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันความสำเร็จของบริษัท”

            นายเนลล์ กล่าวอีกว่า เมื่อมองทางด้านเศรษฐกิจและการเงินของแต่ละบริษัทแล้วจะเห็นว่ามีความแตก ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด “KNOW–HOW เพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันความสำเร็จของบริษัท การผสมผสานอย่างถูกต้องระหว่าง ความชำนาญ, แหล่งเงินทุน, การรับประกันคุณภาพและขั้นตอนการผลิต, แรงจูงในของพนักงาน, กลยุทธ และการตลาด เป็นสิ่งจำเป็น”
            ส่วน ดอกเตอร์ อิง โอลิเวอร์ เกอร์เรนท์ หัวหน้าฝ่ายเทคนิค บริษัท SCHUETTEมองว่า การที่บริษัทผู้ผลิตเยอรมันได้รับความนิยมสูงเนื่องจาก มี KNOW – HOW มาก : “เหตุผลสำคัญของความสำเร็จในการผลิตเครื่องมือกลนั้น บริษัทไม่ได้มุ่งประเด็นไปที่เครื่องจักรเพียงอย่างเดียว แต่เรามองขั้นตอนการผลิตเป็นภาพรวมทั้งระบบ โดยมองโจทย์ของงานรอบด้าน ความต้องการเครื่องกลึงในปัจจุบันนี้มีความแตกต่างกันน้อยมาก  ไม่ว่าจะเป็น จีน, อเมริกาเหนือ หรือ ยุโรป ความต้องการด้านคุณภาพของชิ้นงานที่ผลิตออกมานั้นเหมือนกัน ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดจะอยู่ในส่วนของระบบ AUTOMATION ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วลูกค้าชาวจีนมักจะไม่ค่อยสนใจระบบนี้เนื่องจากมีราคาแพง เมื่อถามถึงความกลัวที่มีต่อจีน การที่จะทำเครื่องมือเลียนแบบของของเรานั้น มันไม่ง่ายนัก เพราะภายในยังมี KNOW-HOW ต่าง ๆ ที่ซ่อนไว้อีกมาก โดยเฉพาะในส่วนของตัวโปรแกรม แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้และเชื่อว่ามันจะเป็นแบบนี้ ตลอดไป”



alt Dr.-Ing. โอลิเวอร์ เกอร์เรนท์, หัวหน้าฝ่ายเทคนิค บริษัท SCHUETTE: “ การที่จะทำเครื่องมือเลียนแบบของของเรานั้น มันไม่ง่ายนัก”

            บริษัท BUDERUS เป็นบริษัทสัญชาติเยอรมัน จากรัฐเฮสเซน ประสบความสำเร็จในด้านการส่งออก มีความชำนาญด้านเครื่องกลึงโดยเฉพาะการผลิตชุดเกียร์ โดยบริษัท BUDERUSมีกำไรจากการพัฒนาสร้างชุดเกียร์คลัชคู่ (DUAL CLUTCH GEAR) ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเกียร์ประเภทนี้ได้ถูกนำไปติดตั้งในรถรุ่นใหม่เป็นที่เรียบร้อย ในการผลิตเกียร์ชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ HOLLOW SHAFT เป็นส่วนประกอบ ซึ่งต้องใช้เครื่อง CENTER-DRIVE TURNING MACHINE โดยจะยึดจับบริเวณกลางชิ้นงานเพื่อให้สามารถทำงานบริเวณปลายทั้ง 2 ข้างได้
            ถึงแม้ บริษัท BUDERUSจะชำนาญและมี KNOW-HOW ด้านเทคนิคสูง แต่ต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาอย่างหนัก ดังที่ ดร.โยอคิม ไฮม อธิบายไว้ว่า: “นอกจากคู่แข่งเครื่องจักรเยอรมันด้วยกันเองแล้วยังมีผู้ผลิตเครื่องจักรของ อิตาลีที่เสนอราคาได้ย่อมเยาว์กว่า ความแข็งของค่าเงินสกุลยูโรเป็นอุปสรรคในการทำการตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอเมริกา  ถ้าที่สุดแล้วไม่มีใครสามารถแข่งขันทางด้านเทคนิคได้ ก็จะทำให้ตลาดการค้าในประเทศอเมริกาดีขึ้น”
            แต่การแข่งขันด้านราคาและด้วยค่าเงินดอลล่าร์ที่อ่อนตัว ก็ไม่อาจที่จะทำให้ตัวเลขงบดุลของผู้ประกอบการแย่ลงได้: จำนวนของเครื่องจักรที่สั่งซื้อทั้งหมดมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2007 คิดเป็น 40% โดยสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 70% โดยเฉพาะปริมาณการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดยุโรปและเอเซียทำให้สามารถชด เชยการสูญเสียเนื่องจากแรงกดดันด้านราคาและเงินดอลล่าร์ที่อ่อนตัว
            ทิศทางการพัฒนาเทคนิคเครื่องกลึงจะไปในทิศทางใดนั้น สำหรับ ดร. ไฮม แล้วเห็นได้ชัดว่า การบูรณาการวิธีการผลิตในทุก ๆ ขั้นตอน และการดำเนินการผลิตแบบเบ็ดเสร็จ เป็นกุญแจสำคัญในการที่จะประสบความสำเร็จในตลาดอนาคตสำหรับผู้ผลิตเครื่อง มือกล



alt
ศักยภาพในการเจาะรูและการปรับผิวหน้าของชุดเกียร์ได้พร้อมกันเป็นทางเลือกที่ผู้ใช้เครื่องกลึงสัญชาติเยอรมันสามารถกระทำได้


การนำเข้าและส่งออกของเครื่องกลึงเยอรมันในปี 2007
(ข้อมูลอ้างอิงจากเครื่องมือกลประเภทต่าง ๆ  เช่น SURFACE, CIRCULAR GRINDING MACHINE และเครื่องกลึงประเภทอื่น ๆ)
alt
จีน, อิตาลี และ อเมริกา เป็นลูกค้าสำคัญของเครื่องกลึงจากประเทศเยอรมัน ส่วนตลาดนำเข้าเป็นของเครื่องจักรจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และสาธารณรัฐเชค ซึ่งมีแหล่งผลิตเครื่องกลึงของ JUNKER เยอรมัน อีก จำนวน 4 แห่ง


แปลและเรียบเรียง
น.ท.ปัณณทัต สิงหเสนี
Cdr. Panatat Sinhaseni

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น